วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

     ความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั่นคือครูผู้สอนต้องรู้จักการจัดประสบการณ์โดยมีกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองรู้จักคิดค้นสร้างและลงมือปฏิบัติจริงเพื่อได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  สรุปความคิด  ความรู้ด้วยตนเอง  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างความสุขและนำความรู้ไปใช้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด
   หลักการที่สำคัญของการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
มีหลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มีดังนี้
    1. เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนและรู้จักรับผิดชอบด้วยตนเอง
    2. มีการเรียนรู้หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่างๆมากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียวหรือเพียงในห้องเรียนเท่านั้น
    3. เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
    4. เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
    5. เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
    6. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริง

                                               แผนการจัดการเรียนรู้
           
               กลุ่มสาระภาษาไทยช่วงชั้นที่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 สัปดาห์ 5
                กลุ่มสาระเรื่องการอ่าน      เรื่องย่อย ขนมไทยไร้เทียมทาน   เวลา 2 ชั่วโมง
        
         1.     สาระการเรียนรู้
                 การอ่านจับใจความโดยการตั้งและตอบคำถาม
         2.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง / เนื้อหา
                สามารถบอกหลักการอ่านจับใจความโดยการตั้งและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้
                 สามารถตั้งและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้
                 นำคำตอบมาเรียบเรียงด้วยสำนวนภาษาของตนเองได้
          3. กระบวนการจัดการเรียนรู้
              ขั้นนำ  (  เวลา  10  นาที  )
             นักเรียนอ่านชื่อเรื่อง  ขนมไทยไร้เทียมทาน และภาพประกอบแล้วสนทนาถึงความหมาย
             ของชื่อเรื่องและความสัมพันธ์สอดคล้องของภาพกับเรื่องถามประสบการณ์ในการทำขนม
              ของนักเรียน
               
          ขั้นจัดกิจกรรม  (  เวลา  50  นาที  )
               1.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 – 6 คน เลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม
               2.  ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ เรื่องการอ่านจับใจความโดยการตั้งและตอบคำ
                    ถามแล้วแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม  สรุปเป็นองค์ความรู้หากไม่เข้าใจให้ถามครู
                3.  นักเรียนอ่านในใจเรื่องขนมไทยไร้เทียมทานภายในเวลา 15 นาที
                4.  นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมในใบกิจกรรมดังนี้
                -  ตั้งคำถามโดยใช้คำว่า   ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร  ทำไม  อย่างไร  เป็นต้น
                -  นำคำตอบมาเรียบเรียงเป็นประโยคที่สอดคล้องกันด้วยสำนวนของนักเรียนเอง
                -  ครูสุ่มตัวแทนกลุ่มออกมารายงานหน้าชั้นเรียน   โดยมีครูเป็นผู้ชี้
              
            ขั้นสรุป  (  เวลา 10  นาที  )
                -  ตัวแทนนักเรียนออกมาสรุปบทเรียนเรื่อง ขนมไทยไร้เทียมทาน ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
                    ให้เพื่อนฟัง
             
         4. เครื่องมือวัดผลประเมินผล
            -  แบบฝึกหัดหลังเรียน     
           แบบบันทึกอภิปรายกลุ่ม
          5. กระบวนการวัดและประเมินผล
             -  สังเกตการตอบคำถาม 
             การรายงานหน้าชั้น   
             การทำงานกลุ่ม
        6. แหล่งการเรียนรู้
             -  เอกสารประกอบการเรียน
        7. สื่อการสอน
          ใบความรู้     
          ใบกิจกรรม 
         เอกสารประกอบการเรียน


    8.บันทึกผลหลังการสอน      
......................................................................................
......................................................................................

กิจกรรมที่ 10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ลงในบล็อกของนักศึกษาในหัวข้อต่อไปนี้

1)                           ณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
  กรณีเขาพระวิหารนี้คิดว่าเริ่มมีปัญหามาตั้งแต่ไทยต้องเสียเขาพระวิหารและดินแดนบริเวณที่ตั้งของเขาพระวิหารใน ช่วงที่   ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช  เป็นนายกรัฐมนตรี ..  2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และมีปัญหาความขัดแย้งมาโดยตลอดในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ จนกระทั่ง 2-3ปี ที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็น พื้นที่ พิพาทกันอยู่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุคนไทยถูกจับกุมในพื้นที่ พิพาทนี้ทำให้มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน
2)  กรณีพื้นที่ชายแดนจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตุแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกและกรณีคนไทยถูกจับกุมตัวทั้ง 7 คน ตอนนี้ยังไม่ได้กลับมาจากประเทศไทยอีก
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
ผลของMOU 43 ทำให้กรณีพิพาทนี้ยุ่งเข้าไปอีกทำให้หาข้อยุติไม่ได้ในปัจจุบันหากนำมาใช้จะทำให้พื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อนตกเป็นของกัมพูชาเพราะ  MOU 43มีการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000ซึ่งทำให้ดินแดนพิพาทเป็นของกัมพูชาตลอดไปก็เป็นไปได้
4)  กรณีคนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ           (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ใน การแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นัก ศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
ในกรณีนี้ไม่แน่นอนอยู่ว่าไทยลุกล้ำดินแดนของกัมพูชาอย่างไรเพราะเป็นพื้นที่พิพาทกันอยู่ดังนั้นรัฐบาลจะต้องช่วยเหลือคนเหล่านี้โดยเร็วที่สุดโดยใช้ความเด็ดขาดไม่ยินยอมและอ่อนแออย่างนี้ทำให้กัมพูชาได้ใจและหาเรื่องอยู่ตลอดจึงวอนให้นายกและรัฐบาลชุดนี้จัดการปัญหาให้เสร็จโดยเร็วจะทำให้คนไทยไมเดือร้องไม่เป็นเหยื่อของการพิพาทของดินแดนอีกต่อไป
     
   ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
          ตอบ จากการเรียนวิชาการบริหารการจัดการในชั้นเรียนเป็นวิชาที่เน้นเทคโนโลยีเป็นสำคัญ เพราะไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ก็จะทำด้วยอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูลก็จะใช้อินเตอร์เน็ตในการสื่อหา
          ดังนั้น จะทำให้นักศึกษาได้เข้าถึงเทคโนโลยีเท่าทันผู้อื่นและในการใช้อินเตอร์เน็ตก็จะมีผลดีและผลเสียตามมาอยู่ทีเรจะเลือกใช้ในทางไหนถึงเกิดผลดีต่อตนเอง

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 9

   การศึกษาจากโทรทัศน์สนทนา เรื่องครูพันธุ์ใหม่       

ประเด็นสำคัญ ในบทความเรื่องนี้ คือครูเป็นผู้มีพลังอันยิ่งใหญ่ครูมีพลังเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศได้ ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นอาจมีพลังแต่ไม่เพียงพอ ที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศพวกเราสามารถเปลี่ยน         นิสัยใจคอ เปลี่ยนความเชื่อเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนค่านิยมเปลี่ยนพฤติกรรมของศิษย์ให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ตลอดจนสามารถเพิ่มคุณธรรมเพิ่มจริยธรรม เพิ่มความรู้เพิ่มสมรรถนะและเพิ่มความอยู่ดีกินดีให้แก่ศิษย์เมื่อเราเปลี่ยนและเพิ่มสิ่งต่างๆ เหล่านี้ในตัวศิษย์ได้คนในประเทศของเราก็จะเปี่ยมล้นด้วยความรู้คู่คุณธรรมประเทศของเราก็จะน่าอยู่ และเติบโตอย่างยั่งยืน
นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่าอาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร
ครูที่ดีจะต้องมีใจที่เปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นต้องเริ่มจากการรู้จักพัฒนาตัวเองก่อนพัฒนาตนเองในทุกด้านให้มีความพร้อมเข้าใจทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบันมีการพัฒนาตนอยู่เสมอจะต้องเน้นตัวนักเรียนเป็นสำคัญพร้อมเปิดโอกาสเสนอแนะในสิ่งที่ขาดไปเป็นการต่อยอดความคิดให้แก่เด็ก และ
ครูควรติปฏิบัติ เป็นแบบอย่างอันประเสริฐแก่ผู้ประกอบวิชาชีพครูด้วยกันและเน้นเรื่องการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนที่มีพื้นฐานความรู้ ความสนใจ และความถนัดแตกต่างกันได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่แตกต่างและหลากหลาย ครูควรเน้นการเรียนรู้ด้วยการสาธิต การทดลอง การแก้ปัญหา การลงมือปฏิบัติจริง การค้นคว้า และการสร้างความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และรู้ว่าจะถ่ายทอดความรู้และทักษะต่างๆ แก่นักเรียนอย่างไรเพื่อมีพื้นฐานความรู้ ความสนใจ และความถนัดที่แตกต่างกัน และยังสามารถทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้โดยง่าย 

กิจกรรมที่ 8

ความหมายวัฒนธรรมและองค์การ

วัฒนธรรมองค์การ  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์การปฏิบัติเหมือนๆกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์การเกิดจากการเชื่อมโยงผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคลค่านิยม ความเชื่อ ปทัสถาน และการกระทำของบุคคล  ของกลุ่ม  ขององค์การ  นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การ  เทคโนโลยี  สภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์การจนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์การ
แนวทางความคิด ที่ก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรของตนเองจากลักษณะต่อไปนี้
1.  เกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคลากรในองค์การ บริษัท ห้างร้าน  สำนักงาน
2. เป็นมรดกขององค์การถูกถ่ายทอดจากบุคคลรุ่นหนึ่งไปยังบุคคลอีกรุ่นหนึ่งบุคคลอยู่ในสังคมใดก็เรียนรู้วัฒนธรรมของสังคมนั้นเป็นการสร้างความเจริญให้แก่วัฒนธรรมและสังคมมนุษย์ให้อยู่ในระดับสูงขึ้น
3.  เป็นที่รวบรวมของความคิด ความเชื่อ เจตคติตลอดจนค่านิยมขององค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรในองค์การ
4.  เป็นสิ่งที่คนในองค์การเห็นว่ามีคุณค่าสูงสำหรับองค์กรเป็นสินทรัพย์ขององค์กรที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้
5.  เป็นสิ่งที่เหมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพและบุคลิกภาพของบุคลากรในองค์การในระดับภาค
การพัฒนาองค์การ  เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้าหรือดีกว่าเดิมเพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่างๆเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ
วัตถุประสงค์ขององค์การ  มีดังนี้
1.  เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ
2.  เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน
3.  เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ได้
รูปแบบในการพัฒนาองค์การ
1.  การฝึกการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์
2.  การประชุมแบบเผชิญหน้า
3.  การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน
4.  กระบวนการให้การปรึกษา
5.  การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ
6.  การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์
ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ
    การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ  การปฏิบัติงานภายในองค์การ
อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน  การลาป่วย  ลากิจ  ลดความขัดแย้งภายในองค์
การ  ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง
กลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์การ
คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ
               1.
การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยากหรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่าการเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรมเป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ  การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง
               2.
การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจนทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์การมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์การ เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ
  แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
การประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติเนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในองค์การคือการนำแผนและกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ได้จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมากกล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ
ที่มา : http://thainews.prd.go.th