ให้นักศึกษาศึกษา Power point แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )
แผนที่ความคิดคืออะไร
แผนที่ความคิด ( Mind Map ) เป็นการนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดการเขียนแผนที่ความคิดเกิดจากการใช้ทักษะทั้งหมดของสมองหรือเป็นการทำงานร่วมกันของสมองทั้ง 2 ซึก คือสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาสมองซีกซ้ายทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำภาษาสัญลักษณ์ระบบ ลำดับความเป็นเหตุเป็นผลตรรกวิทยาฯส่วนสมองซีกขวาทำหน้าที่สังเคราะห์คิดสร้างสรรค์จินตนาการ ความงาม ศิลปะ จังหวะ โดยมีเส้นประสาทส่วนหนึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงสมองทั้งซีกซ้ายและขวาให้ทำงานประสานกัน
วิธีการเขียนแผนที่ความคิด แผนที่ความคิด ( Mind Map ) พัฒนาจากการจดบันทึกแบบเดิม ๆ ที่บันทึกเป็นตัวอักษรเป็นบรรทัดเป็นแถวโดยดินสอหรือปากกามาเป็นการบันทึกเป็นคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่เป็นรัศมีออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้โดยใช้สีสันให้น่าสนใจ
แผนที่ความคิด ( Mind Map ) ใช้ได้กับอะไรบ้าง แผนที่ความคิด ( Mind Map ) นำไปใช้กับกิจกรรในชีวิตส่วนตัวและกิจกรรมในการปฏิบัติงานทุกแขนงวิชาและอาชีพ เช่น ใช้ในการวางแผน การช่วยจำ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนำเสนอ ฯลฯ
การเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map ) การเรียนรู้วิชาต่าง ๆ ใช้แผนที่ความคิดช่วยในการศึกษาเล่าเรียนทุกวิชาได้เด็กเล็กจะเขียนแผนที่ความคิดได้ตามวัยของตนส่วนในชั้นที่โตขึ้นความละเอียดซับซ้อนจะมากขึ้นตามเนื้อหาและวัยของตนแต่ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นใดแผนที่ความคิดก็ช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวางหลากหลายช่วยความจำช่วยให้งานต่างๆมีความสมบูรณ์ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาดหายไป
ยกตัวอย่างประกอบ วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
เทคนิคการสอนแบบหมวก 6ใบ (six thinking hats) เป็นการรวมความสอนด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้านระบบให้คนคิดทีละด้านมองทีละด้านจากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่งจะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจนทำ ให้พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบเป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพดังนั้นการคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝนและพัฒนาได้การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด six thinking hats จะช่วยให้ผู้คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนในการคิดอย่างสร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น ส่วนการเรียนการสอนแบบโครงการ เป็นการผสมผสานรูปแบบการเรียนการสอนต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นการเรียนแบบลงลึกถึงรายละเอียดในเรื่องที่เด็กสนในและเป็นเรื่องที่เด็กเลือกเรียนเองจึงทำให้เด็กมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้กำหนดคำถามที่ตนเองสนใจเพื่อค้นหาคำตอบและรับผิดชอบต่องานที่ทำ
ตัวอย่างเช่น วิธีการสอนแบบโครงการจะใช้คำถามที่นำไปสู่การทดลองเป็นการเรียนการสอนแบบลงปฏิบัติ การค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของกลุ่มเป็นการตัดสินใจร่วมกันจนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริงส่วนวิธีการสอนแบบหมวก 6 ใบ จะใช้คำถามนักเรียนจะใช้ความคิดนี้ไปใช้ทำอะไรนักเรียนก็จะคิดมองทีละด้านหลายๆแบบแล้วสรุปเป็นความคิดใหม่ที่จะสามารถให้นักเรียนมีความรอบคอบและรอบด้านในเรื่องที่ศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น